วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มาเล่นกีตาร์กันดีกว่า


             ก่อนที่เราจะมาเริ่มเฃ่นกีตาร์กัน เราควรจะมีกีตาร์เป็นของตัวเองก่อน และในส่วนนี้ผมจะได้แนะนำในเรื่องของการเลือกซื้อกีตาร์ การเลือกซื้อสายกีตาร์ การใส่สายกีตาร์ และการตั้งสายกีตาร์ เมื่อเรามีกีตาร์ ตั้งสายเรียบร้อยแล้ว เราถึงจะมาเริ่มฝึกกัน  ในหัวข้อนี้จะประกอบด้วย
                1. การเลือกซื้อกีตาร์และสายกีตาร์
1.1  การเลือกซื้อกีต้าร์
1.2  การเลือกซื้อสายกีต้าร์
   ***การใส่สายกีต้าร์***
  - การใส่สายกีตาร์คลาสสิก
  - การใส่สายกีตาร์โฟล์ค
2. การตั้งสายกีตาร์
  3. การระวังและดูแลรักษากีตาร์

                                                   
     1. การเลือกซื้อกีตาร์และสายกีต้าร์ มันมีความจำเป็นอย่างมากที่คุณควรจะมีกีตาร์เป็นของตัวเองถ้าคุณอยากจะเล่นกีตาร์เป็น ในบ้านเรามีกีตาร์ขายมากมายหลายแบบราคานั้นมีตั้งแต่ไม่ถึงพันบาท จนกระทั่งราคาเป็นแสนก็มี ซึ่งแหล่งใหญ่ก็มีแถวหลังกระทรวง แถวเวิ้งนาครเขษม หรือตามแผนกเครื่องดนตรีของห้างสรรพสินค้าทั่วไปก็มี ทีนี้เรามาดูซิว่าเราควรเลือกซื้อกีตาร์อย่างไร
          1.1 การเลือกซื้อกีตาร์
               ดังที่ได้กล่าวมาแล้วกีตาร์ที่วางขายมีมากมายหลายแบบและระดับราคาต่าง ๆ กัน ผมอยากจะบอกว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการซื้อกีตาร์คือซื้อตัวที่คุณชอบที่สุด ทั้งในด้านของรูปร่างรูปทรง และเสียงของมันซึ่งถ้าคุณเลือกกีตาร์ที่คุณชอบจริง ๆ มันจะทำให้คุณรักมันและมีความสุขที่จะหัดมากกว่าการที่ซื้อตามชาวบ้านเขาโดย ไม่สนใจว่ามันจะเหมาะกับคุณหรือไม่ ส่วนหลักใหญ่ ๆ ในการเลือกซื้อกีตาร์ก็ได้แก่
             1) เลือกดูรุ่นที่คุณสนใจที่สุดอาจจะเป็นกีตาร์คลาสสิกที่เป็นสายไนล่อน สำหรับผู้ที่อยากเล่นกีตาร์คลาสสิก(ซึ่งควรจะไปเรียนกับโรงเรียนจะดีกว่าฝึก เอง) หรือกีตาร์โฟล์คสำหรับเล่นเพลงทั่วไป ซึ่งยังมีขนาดและรูปทรงต่าง ๆให้เลือกจากนั้นจึงดูรายละเอียดโดยรวม ได้แก่ ลักษณะทั่ว ๆ ไปเช่นมีรอยบุบ สีถลอก หรือรอยแตกหักต่าง ๆ บนตัวกีตาร์หรือไม่ ความเรียบร้อยของการทำสี จุดต่อต่าง ๆ ต้องไม่มีรอยปริแตก ดูที่ลายไม้ยิ่งลายไม้ขนานกันมาก และมีลายถี่มาก ๆ จะมีความแข็งแรง ควรหลีกเลี่ยงประเภทที่มีตาไม้
               2) ดูว่าคอกีตาร์ตรงหรือไม่อาจสังเกตง่าย ๆ โดยกดสายกีตาร์ที่ช่อง 1 และอีกมือกดที่ช่อง 19 ของสายเดียวกันแล้วสังเกตว่าระยะห่างระหว่างสายกีตาร์กับเฟร็ตทุกเฟร็ตจะต้องเท่ากัน นอกจากนี้ก็ดูที่เฟร็ตว่าประกอบเรียบร้อยหรือไม่บิดเบี้ยวมั๊ย บนฟิงเกอร์บอร์ดมีรอยแตกมั๊ย และระยะจากนัทไปยังเฟร็ต 12 กับระยะจากเฟร็ต 12 ไปถึงสะพานสายจะต้องมีระยะเท่ากัน ถ้าดูภาดตัดขวางคอกีตาร์จะมีทั้งแบบราบเรียบและแบบที่โค้งเล็กน้อยให้รับกับนิ้วมือก็ลองดูว่าคุณชอบแบบไหน
               3) ลองหมุนลูกบิดดูว่าลื่นมั๊ยล็อคสายอยู่มั๊ยมีคราบสนิม หรือร่องรอยถลอกหรือเปล่า มีการคดงอมั๊ย เช็คดูทั้ง 6 ตัว
               4) ตรวจสอบที่นัทและบริดจ์ ว่าสมบูรณ์หรือไม่รอยต่อสนิทมั๊ย และตัวพินยึดสายกีตาร์ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์
               5) คราวนี้ก็ลองกดสายกีตาร์ดูว่ากดยากมั้ยสูงต่ำไปมั๊ย หมายถึงระยะแอ็คชั่นคือระยะระหว่างสายกับฟิงเกอร์บอร์ดควรสูงประมาณ 2 มม.ที่ช่องที่ 1 บนฟิงเกอร์บอร์ด
               6) ลองดีดสายดูว่าเสียงเป็นที่น่าพอใจคุณมั๊ย มีเสียงประหลาดแทรกระหว่างดีดมั๊ย เช็คเสียงฮาโมนิคว่าสมบูรณ์มั๊ยคือเสียงต้องปิ๊งและไม่มีเสียงประหลาดสอดแทรกมาโดยการดีดสายเปล่าแล้วใช้นิ้วมือแตะเบา ๆ เหนือเฟร็ตที่ 12 ของสายเดียวกันแล้วดีดดูจะได้เสียงที่เป็นเสียงเดียวกันกับที่ดีดสายเปล่าแต่ระดับเสียงจะสูงกว่า ลองเช็คทุก ๆ สาย
               7) ถ้าเป็นกีตาร์โปร่งไฟฟ้า คุณจะต้องทดสอบระบบของมันด้วยว่าเวิคมั๊ยลองเสียบแอมป์เล่นจริง ๆ ลองปรับปุ่มคอนโทรลต่าง ๆ และสังเกตเสียงที่ได้เมื่อต่อเข้าแอมป์ว่าผิดเพี้ยนไปมั้ย
               8) ถ้าเป็นกีตาร์ไฟฟ้าหลักโดยรวมก็เหมือนกับด้านบน แต่สิ่งที่ต้องเช็คอื่น ๆ ได้แก่ระบบคันโยกสมบูรณ์หรือไม่ลองใช้ดู จุดที่ขันน๊อต สกรูต้องแน่น ทดสอบต่อกับแอมป์และลองเล่นดูลองเปลี่ยนไปใช้ปิคอัฟแต่ละตัวว่าทำงานปกติมั๊ย รวมถึงปุ่มคอนโทรลต่าง ๆ
          1.2 การเลือกซื้อสายกีตาร์ สายกีตาร์ก็จะมีหลายแบบหลายขนาดเช่นกัน กีตาร์แต่ละประเภทก็จะใช้สายไม่เหมือนกันดังนั้นคุณควรจะใช้สายกีตาร์ให้เหมาะกับกีตาร์ของคุณดีกว่า
               1.2.1 สายกีตาร์คลาสสิก ยุคก่อนจะใช้สายเอ็น (gut string) แต่ปัจจุบันได้ใช้เป็นสายไนล่อน โดยที่ 3 สายล่างจะเป็นสายเปลือย และ 3 สายบนจะเป็นพวกใยไหมหรือไนล่อนพันด้วยเส้นโลหะจำพวกเงิน หรือบรอนซ์ เป็นต้น ซึ่งทำมาสำหรับใช้กับกีตาร์คลาสสิกโดยเฉพาะ ถ้าคุณนำสายที่เป็นโลหะมาใช้นอกจากเสียงที่ได้จะไม่ดีแล้วกีตาร์คูณจะพัง ด้วยเพราะสายไนล่อนมีแรงดึงต่ำกว่าสายโลหะมากและกีตาร์คลาสสิกออกแบบมาให้ รับแรงตึงของสายไนล่อน

               1.2.2 สายกีตาร์โฟล์ค จะเป็นสายโลหะโดยที่ 2 หรือ 3 สายล่างจะเป็นสายเปลือย และสายที่เหลือหรือสายเบสจะเป็นสายที่แกนเป็นโลหะมีเส้นบรอนซ์พันอยู่มีอยูหลายขนาดเหลือเกินแต่ที่เหมาะสำหรับฝึกหัดใหม่ ๆ ควรเลือกชุดที่ไม่ใหญ่จนเกินไปเช่นชุดที่มีสาย 1 ขนาด .009 ซึ่ง 3 สายล่างจะเป็นสายเปลือย และ 3 สายบนจะเป็นสายพัน
               1.2.3 สายกีตาร์ไฟฟ้า เป็นโลหะเช่นเดียวกับสายกีตาร์โปร่งแต่จะใช้นิเกิลแทนบรอนซ์ซึ่งนิเกิลจะมี ผลดีเมื่อใช้กับปิคอัฟหรือระบบแม่เหล็กไฟฟ้านั่นเอง แต่เสียงจะทึบกว่าสายที่ทำจากบรอนซ์ แต่จะนุ่มมือกว่าเวลาจับคอร์ด ซึ่งบางทีก็สามารถใช้สายกีตาร์ไฟฟ้ากับกีตาร์โปร่งได้เพื่อลดความเจ็บนิ้ว
             เมื่อเราใส่สายกีตาร์เรียบร้อยแล้วขั้นต่อไปก็คือการตั้งสาย ซึ่งมีอยู่มากมายหลายวิธีเรามาดูกันครับว่าการตั้งสายมีวิธีอย่างไรบ้าง

     2. การตั้งสายกีต้าร์ เป็น สิ่งจำเป็นมากสำหรับทุกคนที่หัดเล่นกีตาร์ใหม่ ๆ สายกีตาร์ทุกครั้งเมื่อคุณหยิบมันขึ้นมา เล่น เพราะนอกจากจะทำให้กีตาร์คุณมีระดับเสียงที่ถูกต้องเสมอแล้ว ยังเป็นการฝึกให้คุณคุ้นเคยกับระดับเสียงที่ถูกต้องของสายกีตาร์แต่ละเส้น ซึ่งสำคัญ    

3. การระวังและดูแลรักษากีต้าร์ แน่นอนครับการที่คุณรักในการเล่นกีตาร์ กีตาร์ย่อมมีความหมายกับคุณมากดังนั้นเราก็ควรจะเอาใจใส่ดูแล่กับสิ่งที่เรา รักใช่มั๊ยครับเพื่อที่มันจะได้อยู่กับเรานาน และมีสภาพดีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นนักที่เราจะเสียเวลาเพียงไม่มากในการบำรุง รักษากีตาร์ที่เรารัก เรามาดูกันซิครับว่าเราจะดูแลรักษากีตาร์กันอย่างไรบ้าง
     3.1 น้ำยาขัดเงากีตาร์ กีตาร์เมื่อ เราเล่นไปสักระยะนึงมักจะมีคราบเหงื่อไคล หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ จับโดยเฉพาะถ้าเราไม่ได้เก็บเข้ากล่องหรือถุงใส่ กีตาร์เราก็จะดูหมองไม่สวยงามเลยดังนั้นเมื่อเราเล่นไปสักระยะนึงก็น่าจะทำ ความสะอาดมันสักครั้ง โดยการใช้น้ำยาขัดกีตาร์ซึ่งหาซื้อได้ไม่ยาก วิธีใช้ก็ไม่ยากเลยแค่ฉีดเจ้าน้ำยานี้ไปบนตัวกีตาร์แล้วใช้ผ้านุ่ม สะอาดเช็ดถูและขัดให้ทั่วตัวกีตาร์เท่านี้กีตาร์คุณก็จะกลับมาเงางามเหมือน เดิม
            แต่การที่จะขัดเงาบ่อย ๆ ก็ไม่เป็นผลดีเท่าใดนักเนื่องจากอาจจะทำให้สารเคลือบเงาบนตัวกีตาร์นั้นถูกขัดออกบางลงไปได้ และมีผลต่อเนื้อไม้และเสียงของกีตาร์ นักกีตาร์บางคนจึงพอใจที่จะใช้กีตาร์เก่า ๆ เช่น Stevie Ray Vauhan เป็นต้น
     3.2น้ำยาขัดสายกีตาร์ เช่นเดียวกัน กับตัวกีตาร์ สายนั้นต้องถูกเรากดขณะเล่นตลอดเวลาผลก็คือคราบเหงื่อไคล สิ่งสกปรกต่าง ๆ อาจจะไปจับบนสายกีตาร์ทำให้เกิดสนิม หรือคุณภาพของเสียงเสียไปได้ ซึ่งก็เป็นการดีถ้าคุณจะเช็ดสายกีตาร์บ้างเมื่อเล่นกีตาร์ไปสักระยะนึง ก็จะทำให้ช่วยยืดอายุสายกีตาร์คุณและทำให้เสียงมีที่ดีตลอดเวลา การเช็ดสายก็ทำโดยใช้ผ้าสะอาด เทน้ำยาลงไปบนผ้าเล็กน้อยแล้วจึงเช็ดสายให้ทั่วตลอดความยาวทุกสาย แค่นี้คุณก็จะได้สายที่สะอาดให้เสียงที่มีคุณภาพและมีอายุการใช้งานนานขึ้น
     3.3 ซองหรือกล่องใส่กีตาร์ เป็น การดีถ้าคุณจะมีกล่องหรือถุงใส่เก็บกีตาร์เมื่อคุณเล่นเสร็จ เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกฝุ่นละอองต่าง ๆ หรืออุบัติเหตุอื่น ๆ เช่นถือไปชนกับอย่างอื่นหรือแม้แต่อะไรหล่นใส่เป็นต้น ปกติถ้าคุณซื้อกีตาร์ที่มียี่ห้อหรือราคาสูง ๆ มักจะมีกล่องใส่หรือถุงใส่ให้มาด้วยอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีคุณก็สามารถไปหาซื้อได้ สำหรับถุงใส่จะมีทั้งแบบหนังและผ้าผมว่าน่าจะซื้อแบบเป็นหนังมากกว่าถึงราคา จะสูงกว่าหน่อยแต่ก็แข็งแรงกว่าแบบผ้ามาก ส่วนแบบกล่องนั้นค่อนข้างแพง

อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ สำหรับกีต้าร์


     ในส่วนนี้เรามารู้จักถึงวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบในการเล่นกีตาร์ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายอย่างบางอย่างก็จำเป็น บางอย่างก็อาจไม่จำเป็นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกีตาร์และสไตล์กีตาร์ของคุณนั่นเอง เอาล่ะลองมาดูซิว่าคุณควรมีอะไรบ้าง
1. ปิคกีตาร   ก็คือวัสดุที่ใช้ดีดลงบนสายกีตาร์แทนนิ้วหรือเล็บเรา ซึ่งจะเหมาะสำหรับการเล่น strum (การตีคอร์ด) หรือการเล่นโซโลของกีตาร์ไฟฟ้า เป็นต้น ปิคทำมาจากวัสดุหลายประเภท เช่น ไม้ กระดูกสัตว์ งาช้าง(สมัยโบราณนะครับเดี๋ยวนี้คงไม่มีแล้ว) แต่ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคงเป็นแบบที่ทำมาจากพลาสติก เพราะหาง่ายและราคาค่อนข้างจะถูก โดยทั่วไปปิคกีตาร์จะแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ
     1.1 ปิคแบน   (flat pick) ก็คือปิคทั่ว ๆ ไปที่เราใช้ดีดกีตาร์นั้นแหละครับ โดยทั่วไปในการขายจะแบ่งตามขนาด ได้แก่ แบบ thin,medium และ thick ซึ่งก็คือความหนาตั้งแต่ บาง,หนาปานกลาง และหนามาก ตามลำดับ การใช้งานของแต่ละขนาดก็จะขึ้นอยู่กับความถนัดและสไตล์การเล่นกีตาร์ของแต่ละคนเช่น การตีคอร์ดผมมักจะชอบใช้ปิคบาง(thin)เพราะรู้สึกว่ามันพริ้วกว่า แต่ถ้าผมจะเล่นกีตาร์ไฟฟ้าผมมักจะใช้ปิคแบบหนา เพราะรู้สึกว่ามันใช้โซโลได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ขึ้นกับความถนัดของแต่ละคนนะครับ

      1.2 ปิคนิ้ว  (finger pick)  เป็นปิคที่ใช้สวมนิ้วเพื่อใช้กับการเล่นแบบ finger picking style (การเกากีตาร์) ซึ่งจะให้เสียงที่คมชัดกว่าใช้เล็บหรือปลายนิ้ว แต่ก็ขึ้นกับความถนัดหรือความชอบของแต่ละคนอีกแหละครับบางคนก็ชอบใช้ บางคนก็ไม่ชอบใช้สไตล์ใครสไตล์มันครับ สำหรับปิคประเภทนี้มีอยู่

 2. คาโป้ (capo) คำว่า capo มาจากคำว่า capotasto ในภาษาสเปนแปลว่าทาบ (bar)หน้าที่ขของมันคือใช้คาดหรือรัดบนคอกีตาร์เพื่อเปลื่อนคีหรือระดับ เสียงของกีตาร์

3. สไลด์กีตาร์ (guitar slide)  หรือบางครั้งก็เรียกว่า bottle neck ที่หมายถึงคอขวดนั่นเองเอยากทราบที่มาคลิ๊กเข้าไปดูได้ครับ สำหรับเจ้าตัวสไลด์นี้เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่เราคงเคยเห็นนักดนตรีบางคน เล่นมาแล้วโดยใช้เจ้าสไลด์นี้สวมนิ้วแล้วเลื่อนไปตามคอกีตาร์ ซึ่งมันช่วยทำให้เราได้สำเนียงกีตาร์ในอีกรูปแบบหนึ่งออกมาส่วนมากมักเป็น เพลงประเภทเพลงบลูส์ วัสดุที่ใช้ทำมักจะมี 2 ชนิดคือ
  3.1 สไลด์แก้ว ทำจากวัสดุประเภทแก้ว จะให้เสียงที่ค่อนข้างนุ่มนวลกว่า
    
  3.2 สไลด์โลหะ จะให้เสียงที่ใสกว่า
  และถ้าแบ่งตามลักษณะการใช้งานก็จะแบ่งได้เป็น
          - แบบเป็นท่อใช้สวมนิ้ว
          - แบบที่ใช้เล่นกับกีตาร์ที่เล่นในแนวราบ เช่นกีตาร์ steel 

 
4. ปิคอัฟ (pick up) หรือที่เรามักเรียกกันติดปากว่า คอนแทค นั่นแหละครับ ตอนผมเล่นกีตาร์ใหม่ ๆ ผมก็เรียกอย่างนี้เหมือนกันแต่ว่าชื่อที่ถูกต้องจริง ๆ คือ pick up ผมไม่แน่ใจว่าคำว่าคอนแทคมาจากไหนเหมือนกันอาจจะมาจากการที่เจ้าตัวนี้มัน ติดอยู่บนด้านหน้าของกีตาร์กระมังเพราะคำาว่าคอนแทค(contact)แปลว่าสัมผัส หรือติดต่อ คราวนี้เราจะมาพูดกันถึงประเภทของมันบ้างผมอยากจะแบ่งตามการใช้งานนะครับ ซึ่งน่าจะแบ่งได้ 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
    4.1 ปิคอัฟสำหรับ กีตาร์โปร่ง ใช้สำหรับประกอบกับกีตาร์โปร่งเพื่อให้ต่อเข้าแอมป์เวลาเล่น มีหลายชนิดเช่นแบบที่ใช้ติดที่โพรงเสียง แบบที่ติดทใต้สะพานสาย หรือแบบที่ติดที่ใต้หย่อง เป็นต้น







     4.2 ปิคอัฟสำหรับกีตาร์ไฟฟ้า ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของกีตาร์ไฟฟ้าก็ว่าได้จะมีอยู่ 2 แบบใหญ ๆ คือ แบบ single coin และแบบ humbacking หมายถึงเป็นแบบที่ใช้เส้นลวดพันรอบแกนแม่เหล็กแกนเดียว และแบบ 2 แกนคู่กัน ตามลำดับ ซึ่งจะให้เสียงที่ออกมาต่างกันด้วย








5. เอฟเฟ็ค (effect) แทบจะปฏิเสธไม่ได้เลยสำหรับผู้ที่ชอบเล่นกีตาร์ไฟฟ้า ว่าไม่ต้องการเจ้าสิ่งนี้เพราะมันสามารถทำให้เราปรับแต่งเสียงกีตาร์ของเราได้อย่างอิสระ เช่นต้องการเสียงที่แตกมาก ๆ ต้องการเสียงลากยาว ๆ อะไรประมาณนี้ (จริง ๆ ผมไม่ค่อยจะมีความรู้เรื่องเอฟเฟ็คมากนักแค่พอรู้น่ะครับ ) เอฟเฟ็คในท้องตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อและอีกหลากหลายประเภทตามจุดประสงค์การใช้งานเท่าที่ผมเห็นก็น่าจะมีอยู่ 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
     5.1 ประเภท foot control หรือที่เราเห็นกันอยู่ทั่ว ๆ ไป ที่นักดนตรีเขาใช้เท้าเหยียบ ๆ นั่นแหละครับ(บางคนเรียกว่าเอฟเฟ็คแบบก้อน)ซึ่งยังแบ่งได้อีก 2 ประเภทคือตัวเดียวก็เป็นเอฟเฟ็คอย่างเดียวเลยเช่น distortion ก็จะทำหน้าที่เป็น distortion อย่างเดียวเลย ในขณะที่อีกประเภทจะเป็นเอฟเฟ็ครวม มีเอฟเฟ็คหลาย ๆ ประเภทอยู่ในตัวเดียวกัน ซึ่งแล้วแต่ใครจะชอบแบบไหน แต่นักดนตรีหลายคนยังชอบแบบแรกมากกว่าเพราะมีความคลาสสิกกว่าและเสียงที่ได้ มามันสะใจกว่าอีกแบบ


     5.2 ประเภท rack ประเภทนี้ผมไม่ค่อยจะเห็นเท่าไรเลยไม่รู้ว่าใช้ยังไง แต่บนเวทีมักไม่ค่อยเห็นเท่าไรส่วนมากจะใช้แบบแรกมากกว่า หรืออาจจะใช้ในห้องอัดในสตูดิโอเพราะตัวใหญ่และราคาค่อนข้างจะสูงไม่สะดวกในการพกพาไปเล่นตามที่ไหน ๆ 



6. แอมป์ สำหรับผู้ที่เล่นกีตาร์ไฟฟ้าแล้วมันก็คือสิ่งจำเป็นอีกอย่างที่ขาดไม่ได้ แต่ผู้ที่เล่นกีตาร์โปร่งธรรมดาอาจไม่ต้องมีก็ได้ หน้าที่ของมันก็คือการแปลงและขยายสัญญาณไฟฟ้าที่มาตามสายแจ็คจากกีตาร์ให้ เป็นเสียงกีตาร์และสามารถปรับแต่งคุณสมบัติของเสียงได้เช่นความดัง-เบา หรือความทุ้ม-แหลมเป็นต้น นอกจากนี้แอมป์บางรุ่นยังมีเอฟเฟ็คบางตัวติดตั้งมาด้วยเช่นมี overdrive เป็นต้น แอมป์มีหลายแบบหลายสไตล์ ทั้งแบบ mono , stereo  นอกจากนี้ยังมี พรีแอมป์อีก แอมป์ที่มีขายนั้นมักจะบอกเป็นวัตถ์ว่าแอมป์ตัวนี้กีวัตถ์ตัวนั้นกี่วัตถ์ เป็นต้นกำลังวัตถ์มากกำลังขับก็สูง ราคาก็สูงตามไปด้วย











ส่วนประกอบของกีต้าร์

1. ส่วนหัว ประกอบด้วย
          1.1 ชุดลูกบิด โดยทั่วไปที่เราพบเห็นก็จะมี 2 แบบ ได้แก่แบบที่ตัวลูกบิดหันไปด้านหลังตั้งฉากกับตัวกีตาร์แกนหมุนสายเป็น พลาสติกซึ่งจะใช้กับกีตาร์คลาสสิก หรือกีตาร์ฝึก(แต่จะเป็นแบบที่แกนหมุนสายเป็นเหล็กใช้กับกีตาร์ราคาไม่สูง นัก) และอีกแบบจะขนานกับตัวกีตาร์หรือแกนหมุนสายตั้งฉากกับตัวกีตาร์ซึ่งใช้กับ กีตาร์โฟล์คหรือกีตาร์ไฟฟ้าทั่ว ๆ ไปที่เราเห็นนั่นเอง แต่ละบริษัทที่ผลิตลูกบิดกีตาร์นั้นจะมีระบบเป็นของตัวเองเช่นระบบล็อคกัน สายคลายเวลาดีด อะไรเหล่านี้เป็นต้น
          1.2 นัท (nut)บาง คนอาจเรียกว่าหย่องหรือสะพานสายบน แต่เราจะเรียกว่านัทจะดีกว่า มันจะติดอยู่ปลายบนสุดของฟิงเกอร์บอร์ดเพื่อรองรับสายกีตาร์ให้ยกสูงจากฟิง เกอร์บอร์ด ซึ่งระยะความสูงของสายกับฟิงเกอร์บอร์ดดังกล่าวนี้เรียกว่า action มีความสำคัญมากเพราะถ้ามันตั้งความสูงไว้ไม่เหมาะสมแล้วจะทำให้การเล่น กีตาร์ลำบากมากคือถ้าระยะดังกล่าวสูงไปคุณต้องออกแรงกดสายมากขึ้นก็จะเจ็บ นิ้วมากขึ้น แต่ถ้ามันตั้งไว้ต่ำไปก็จะทำให้เวลาดีดความสั่นของสายจะไปโดนเฟร็ตทำให้เกิด เสียงแปลก ๆ ออกมา การปรับแต่งนั้นคุณสามารถที่จะทำได้ด้วยตัวเองโดยการถอดมันออกมาและใช้ตะไบ ถูกับฐานของมันหรือเซาะร่องทั้ง 6 ให้ลึกลงไป(วิธีหลังเราไม่แนะนำเท่าไรเพราะถ้าคุณเซาะร่องไม่ดีจะมีผลกับ เสียงกีตาร์ของคุณ)กรณีที่สูงเกินไป ตรงกันข้ามถ้าต่ำไปก็หาเศษกระดาษหนา ๆ หรือเศษไม้มารองได้นัทจนได้ความสูงที่คุณพอใจ โดยปกติประมาณ 2 มม. สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าบางรุ่น(โดยเฉพาะที่มีชุดคันโยก)มักจะมีนัทแบบที่ล็อคสายกีตาร์ได้คือจะมี 6 เหลี่ยมขันอัดให้โลหะชิ้นเล็ก ๆ ไปกดสายกีตาร์เพื่อกันสายคลายเมื่อเล่นคันโยก


 












 
     2. ส่วนคอกีตาร์ ประกอบด้วย
          2.1 คอกีตารคือ ส่วนที่เราใช้จับคอร์ดเล่นโน๊ตต่าง ๆ มีความสำคัญมากสำหรับกีตาร์ก่อนซื้อคุณจะต้องดูให้ดีดังที่แนะนำในหัวข้อการ เลือกซื้อกีตาร์ คอกีตาร์ควรจะทำมาจากไม้ มะฮอกกานี หรือไม้ ซีดา หลัการที่สำคํญที่สุดคือคอกีตาร์ต้องตรง ไม่มีรอยแตกหรือปริของเนื้อไม้
         2.2 fingerbord เป็น แผ่นไม้ที่ติดลงบนคอกีตาร์อีกชั้น เป็นตัวที่ใช้ยึดเฟร็ต หรือลวดลายมุกประดับต่าง ๆ และเราก็จะเล่นโน๊ตต่าง ๆ ของกีตาร์บนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดนั่นเอง ไม้ที่นิยมใช้จะเป็นไม้ โรสวูด หรือไม้ อีโบนี ซึ่งมีเนื้อไม่แข็งเกินไป มีแแบที่แบนเรียบของกีตาร์คลาสสิก และกีตาร์โฟล์กับกีตาร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะโค้งเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับนิ้วเวลา ทาบบนคอ
          2.3 เฟร็ต (fret) ทำ มาจากโลหะฝังอยู่บนคอกีตาร์เป็นตัวที่จะกำหนดเสียงของโน็ตดนตรีจากการกดสาย กีตาร์ลงบนเฟร็ตต่าง ๆ ซึ่งทำให้สายมีความสั้นยาวต่างกันไปตามการกดสายของเราว่ากดที่ช่องใดระยะสาย ที่เปลี่ยนไปก็คือระดับเสียงที่เปลี่ยนไปด้วย สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือระยะระหว่างเฟร็ตแต่ละตัวต้องได้มาตรฐาน มิฉะนั้นจะทำให้เสียงเพี้ยนได้แต่เราไม่สามารถเช็คระยะดังกล่าวได้เราอาจ เช็คคร่าว ๆ จากฮาโมนิค จำนวนของเฟร็ตก็จะขึ้นกับความยาวของคอกีตาร์ซึ่งแต่ละผู้ผลิตก็จะต่างกันไป ปกติกีตาร์คลาสสิกจะมีประมาณ 18 ตัว กีตาร์โฟล์คประมาณ 20 ตัว แต่กีตาร์ไฟฟ้าซึ่งมักจะมีการเล่นโซโลจึงมีช่องให้เล่นโน๊ตมากขึ้นประมาณ 22-24 ตัว และกีตาร์คลาสสิกซึ่งคอกีตาร์แบนราบ เฟร็ตก็จะตรง แต่กีตาร์โฟล์คหรือกีตาร์ไฟฟ้านั้นส่วนใหญ่จะมีคอที่โค้งเล็กน้อยก็จะมี เฟร็ตที่โค้งตามไปด้วย
          2.4 มุกประดับ จุด ประสงค์คือให้ใช้สังเกตตำแหน่งช่องกีตาร์ปกติจะฝังที่ช่อง (1),3,5,7,9,(10),12,14,17,19,21(ไม่แน่นอนตายตัวขึ้นกับผู้ผลิต) กีตาร์คลาสสิกจะไม่มีมุกประดับฝังบนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดแต่จะฝังด้านข้างแทน แต่กีตาร์โฟล์คและกีตาร์ไฟฟ้าจะฝังไว้ทั้ง 2 ส่วน(บางรุ่นก็มีแต่ด้านข้าง) ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละผู้ผลิตจะออกแบบ โดยทั่วไปจะเป็นรูปวงกลม บางทีก็รูปข้าวหลามตัด หรือที่แพงหน่อยก็จะเป็นลายพวกไม้เลื้อย เลื้อไปตามหน้าฟิงเกอร์บอร์ด
          2.5 ก้านเหล็กปรับแต่งคอ (Truss Rod) ใน กีตาร์ที่อยู่ในระดับกลางขึ้นไปจะมีแท่งเหล็กฝังอยู่ตามความยาวคอกีตาร์ด้วย เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับกีตาร์ป้องกันการโก่งตัวของคอกีตาร์ ซึ่งสามารถปรับแต่งได้เมื่อคอกีตาร์เกิดโก่งงอไปแต่การปรับแต่งนั้นถ้าไม่ แน่ใจอย่าเสี่ยง เพราะถ้าคุณฝืนมันมากไปอาจทำให้คอกีตาร์เสียหายก็ได้ ให้ผู้ที่เขาชำนาญทำดีกว่า


3. ส่วนลำตัวกีตาร์ ประกอบด้วย
          3.1 ลำตัวกีตาร (body) หมายถึง 3 ส่วนได้แก่ ด้านหน้า(top) ควรทำมาจากไม้ อัลพาย สปรูซ (alpine spruce) ด้านหลัง (back) และด้านข้าง (side) ควรเป็นไม้โรสวูด(rosewood) และที่สำคัญคือลักษณะของไม้ต้องไม่มีรอยแตก ไม่มีตาไม้และมีลายไม้ที่ละเอียดไปตามความยาวจึงมีคุณภาพดี ส่วนที่เว้าของ body บางทีเราก็เรียกว่า เอว การ ยึดโครงไม้ด้านใน(internal bracing) มีความสำคัญมากอีกเช่นกันเพราะไม้ที่ทำ body กีตาร์นั้นบางแต่ต้องรับแรงดึงที่สูงมาก ถ้าโครงยึดดังกล่าวไม่ดีหมายถึงกีตาร์คุณก็จะพังในเร็ววันแน่นอน รูปแบบการยึดจะแตกต่างกันตามเคล็ดลับของแต่ละผู้ผลิตและกีตาร์แต่ละรุ่นแต่ ละประเภท โดยทั่วไปลักษณะเป็นรูปพัด (ในรูปเป็นตัวอย่างโครงยึดด้านในของกีตาร์คลาสสิก)ไม่รวมถึงกีตาร์ไฟฟ้าซึ่ง เป็นทรงตัน หรือ solid body
        3.2 โพรงเสียง (sound hole) ก็คือรูกลม ๆ หรือบางทีก็ไม่กลม ที่อยู่บนด้านหน้าของ body นั่นเอง มีหน้าที่รับเสียงจากการสั่นของสายกีตาร์ทำให้เกิดเสียงก้องดังขึ้น ซึ่งอาจจะมีีีลายประดับต่าง ๆ อยู่รอบ ๆ โพรงเสียงเพื่อความสวยงามอีก
          3.3 สะพานสาย (bridge) เป็นตัวที่ยึดสายให้ติดกับ body มักทำมาจากไม้โรสวูดหรือไม้อีโบนี ถ้าเป็นกีตาร์คลาสสิกจะเจาะรูในแนวขนานกับ body กีตาร์ 6 รูไว้ใช้พันสายกีตาร์ แต่ถ้าเป็นกีตาร์โฟล์คจะเจาะรูในแนวตั้งฉากกับ body และยึดสายด้วย
หมุดยึดสาย(pin) แต่บางรุ่นเช่นของ Ovation ไม่ใช้หมุดแต่สอดสายจากด้านล่างของบริดจ์คล้าย ๆ กับกีตาร์คลาสสิกแต่ไม่ต้องพันสายเพราะสายโลหะจะมีหมุดล็อคอยู่ที่ปลายสาย สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะทำจากโลหะเป็นส่วนใหญ่มีทั้งแบบธรรมดาคือมีหน้าที่ยึดสายอย่างเดียว และอีกแบบคือเป็นแบบคันโยกทั้งแบบเดิมและแบบใหม่ที่เรียกกันติดปากว่าฟรอยโรส การใส่สายจะยุ่งขึ้นมาอีกเล็กน้อย
          3.4 หย่อง (saddle) จะฝังหรือยึดอยู่กับสะพานสาย เพื่อรองรับสายกีตาร์ทั้ง 6 สาย มีทั้งแบบตรงสำหรับกีตารืคลาสสิก และแบบโค้งสำหรับกีตาร์โฟล์ค บางแบบก็แยกเป็น 2 ชิ้นแล้วแต่การออกแบบของแต่ละรุ่น บางรุ่นสามารถปรับความสูงของตัวมันได้ แต่ทั่ว ๆ ไปถ้าเรารู้สึกว่ามันสูงไปเราก็สามารถจะถอดมาแล้วใช้ตะไบหรือกระดาษทรายขัดที่ฐานของมันให้ความสูงลดลง แต่ถ้าต่ำไปก็หาเศษไม้หรือกระดาษมาเสริมให้สูงตามความพอใจ



          3.5 ปิคอัฟ (pick up) โดยทั่วไปจะเห็นชัดบนกีตาร์ไฟฟ้ามากกว่าแต่ปัจจุบันกีตาร์โปร่งบางรุ่นก็มี การประกอบปิคอัฟไว้กับกีตาร์เลยเช่นประกอบไว้ที่ใต้บริดจ์หรือใต้หย่อง หรือเป็นปิคอัฟที่ซื้อมาประกอบต่างหากก็มี สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะมีความสำคัญมากเพราะมันจะรับแรงสั่นสะเทือนของสายไปแปลง เป็นกระแสไฟฟ้าส่งไปยังแอมป์แล้วขยายเสียงต่อไปทำให้ัสามารถปรับแต่งเสียง ได้มากมายหลายรูปแบบแล้วแต่คุณต้องการรายละเอียดดูในอุปกรณ์เสริมสำหรับ กีตาร์ได้
          3.6 ชุดคันโยก (tremolo bar) ถือว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของกีตาร์ไฟฟ้าเลยทีเดียวแบบเก่าที่เห็นใน fender stratocaster รุ่นเก่า ๆ   ซึ่งจะกดลงได้อย่างเดียว หรือคันโยกแบบ Bigsby ซึ่งมักพบในกีตาร์แบบ archtop หรือ semi acoustic electric ซึ่งใช้เล่นเพลงแจ๊ส หรือคันทรีเป็นต้นและปัจจุบันวงการกีตาร์ไฟฟ้าก็ได้พัฒนาไปอีกระดับกับคัน โยกที่เราเรียกกันตามชื่อผู้ผลิตคือฟลอยโรสหรือคันโยกอิสระนั่นเองซึ่ง สามารถโยกขึ้นลงได้อย่างอิสระช่วยให้นักกีตารืสามารถสร้างสรรค์สำเนียงดนตรี ในแบบใหม่ ๆ ได้ไม่สิ้นสุด












        
3.7 สวิทช์เปลี่ยนปิคอัฟ มักมีในกีตาร์ไฟฟ้าที่มีปิคอัฟหลาย ๆ ตัว เช่น 2 หรือ 3 ตัว ใช้ในการเปลี่ยนไปใช้ปิคอัฟตัวต่าง ๆ ซึ่งเสียงก็จะต่างกันไปด้วยเช่นต้องการเล่น rythym อาจใช้ตัวกลางหรือตัวบนเมื่อจะ lead ก็เปลี่ยนมาใช้ตัวล่างที่ติดกับบริดจ์เพราะให้เสียงที่แหลมกว่าเป็นต้น
          3.8 ปุ่มควบคุ่มเสีย โดยทั่วไปจะมี 2 ชุด คือชุดควบคุมความดังเบา(volume control) และชุดควบคุมเสียงทุ้มเสียงแหลม(tone control)
       3.9 ช่องเสียบสายแจ็คไปยังแอมป์ ใช้เสียบแจ็คเพื่อต่อสายไปยังแอมป์หรือผ่านเข้ายังชุดเอฟเฟ็คต่าง ๆ ของคุณ
          3.10 ที่ใส่สายสะพายกีตาร ไว้ใส่สายสะพายกีตาร์เพื่อเวลาคุณยืนเล่น
          3.11 ปิคการ์ด (pick guard) สำหรับกีตารคลาสสิกซึ่งมักไม่ใช่ปิคในการเล่นจึงไม่มีปิคการ์ด แต่กีตาร์โฟล์คมักใช้ปิคเล่นจึงมีปิคการ์ดไว้ป้องกันปิคขูดกับ body กีตาร์

ประเภทของกีต้าร์


  1.กีตาร์โปร่ง หรือ อาคูสติกกีตาร์ นั่นเอง ก็คือกีตาร์ที่มีลำตัวโปร่งไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการเล่น ซึ่งสามารถที่จะพกพาไปเล่นได้ในทุก ๆ ที่ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรให้วุ่นวาย สามารถแบ่งได้ดังนี้
          1.1 กีตาร์คลาสสิก (Classic Guitar) ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ในยุคปัจจุบันนั่นเองซึ่งมีลักษณะเด่นก็คือมี ลูกบิดและแกนพันสายเป็นพลาสติก มีคอหรือฟิงเกอร์บอร์ดที่ใหญ่คือประมาณ 2 นิ้วลักษณะแบนราบ และใช้สายเอ็นหรือไนล่อน ส่วน 3 สายบน(สายเบส) จะทำด้วยไนล่อนหรือใยไหมแล้วพันด้วยเส้นโลหะเช่นเส้นทองแดงหรือบรอนซ์ ซึ่งทำให้มีความนุ่มมือเวลาเล่นไม่เจ็บเหมือน สายโลหะ จึงเหมาะกับคนที่อยากหัดกีตาร์แต่กลัวเจ็บนิ้ว
          กีตาร์อีกอย่างที่อยากกล่าวถึงในหัวข้อกีตาร์คลาสสิกคือ กีตาร์ ฟลาเมนโก (flamenco) ซึ่งมีโครงสร้างแทบจะเหมือนกับกีตาร์คลาสสิกทุกประการเนื่องจากได้มีการ พัฒนามาจากกีตาร์คลาสสิกนั่นเอง จะต่างกันก็ที่ลำตัวจะบางกว่า และมีปิคการ์ดทั้งด้านบนล่างของโพรงเสียง และสไตล์การเล่นนั่นเองที่จะเป็นแบบสแปนนิสหรือแบบลาตินซึ่งจะมีจังหวะที่ ค่อนข้างกระชับและสนุกสนาน
ด้วย เหตุที่ใช้สายไนล่อนนั่นเองทำให้กีตาร์คลาสิกมีเสียงที่ไพเราะนุ่มนวลและคอ ที่กว้างทำให้ระยะระหว่างสายก็มากขึ้นไปด้วย ซึ่งทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิคนั้นจะสามารถเล่นได้ทั้งการ solo เล่น chord แล่ bass ได้นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคลูกเล่นต่าง ๆ อีกมากมาย ทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิกนั้นมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ง่ายนักกว่าจะเล่นได้อย่างที่ว่า นอกจากจะได้ไปเรียนอย่างเป็นจริงเป็นจังกับโรงเรียนดนตรี ส่วนต่าง ๆ ของกีตาร์คลาสสิก



1.2 กีตาร์โฟล์ค ถือว่าเป็นที่นิยมและรู้จักกันมากที่สุดเนื่องจากหาซื้อง่ายราคาไม่แพงจน เกินไป(ที่แพง ๆ ก็มี) สามารถฝึกหัดได้ง่ายไม่ต้องรู้ถึงทฤษฎีดนตรีมากนัก ใช้เวลาไม่นานก็จะสามารถเล่นเพลงง่าย ๆ ฟังกันในหมู่เพื่อนฝูงได้แล้วแต่จริง ๆ กีตาร์โฟล์คมันมีอะไรมากกว่านั้น ลักษณะทั่ว ๆ ไปคือแกนหมุนและลูกบิดมักเป็นโลหะ คอหรือฟิงเกอร์บอร์ดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิกมีลักษณะโค้งเล็กน้อยรับกับนิ้ว มือ แต่มีลำตัว (body) ที่ใหญ่และแข็งแรงกว่ากว่ากีตาร์คลาสสิก ใช้สายที่ทำจากโลหะ เนื่องจากคอกีตาร์ที่เล็กและสายที่เป็นโลหะกีตาร์ประเภทนี้จึงเหมาะกับการ เล่นด้วยปิค (flat pick) หรือการเกา (finger picking) ซึ่งเสียงที่ได้จะดังชัดเจน สดใสกว่ากีตาร์คลาสสิก จึงเหมาะกับการเล่นกับดนตรีทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจเล่นเดี่ยวหรือเล่นเป็นวงก็ได้
          กีตาร์โฟล์คนั้นมีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กันไปบ้างตามแต่ละความต้องการใช้ประโยชน์ หรือตามแต่ละผู้ผลิตส่วนมากก็จะแบ่งได้เป็น standard folk กีตาร์, jumbo folk กีตาร์ flat top folk กีตาร์ นอกจากนี้ยังมีแบบพิเศษอีกประเภทคือ กีตาร์ 12 สาย(แถวบนขวาสุด) ซึ่งจะมีสายแบ่งเป็น 6 คู่ซึ่งเวลาเล่นก็เล่นเหมือนกีตาร์ทั่ว ๆ ไป เพียงแต่จะได้เสียงที่กังวานและแน่นขึ้น

 


     2. Arch top Guitar
เป็นกีตาร์อีประเภทหนึ่งบ้านเราอาจจะไม่ค่อยเห็นคนเล่นมากนักลักษณะทั่ว ๆ ไป จะคล้ายกับกีตาร์โฟล์ค แต่ด้านหน้าจะโค้ง(arch แปลว่าโค้ง) ซึ่งกีตาร์โฟล์คจะแบนราบ และโพรงเสียงจะไม่เป็นแบบช่องกลม แต่จะเป็นรูปตัว f (แค่คล้ายตัว f ที่เป็นตัวเขียนไม่ใช่ตัวพิมนะครับ) อยู่ 2 ช่องบนด้านหน้าของลำตัว ส่วนสะพานยึดสายด้านล่างมักเป็นแบบหางปลา (tail piece) ส่วนมากจะใช้เล่นในดนตรีแจ๊ส




  3. Semi Acoustic Guitar เป็น กีตาร์ที่มีลักษณะครึ่ง ๆ หรือลูกผสมระหว่างกีตาร์โปร่งกับกีตาร์ไฟฟ้า แต่ไม่ใช่กีตาร์ดปร่งไฟฟ้า กีตาร์โปร่งไฟฟ้าก็คือกีตาร์โปร่งที่ได้มีการประกอบเอา pick up ประกอบเข้าไปกับตัวกีตาร์โปร่งทำให้สามารถต่อสายจากกีตาร์เข้าเครื่องขยาย ได้โดยตรง ไม่ต้องเอาไมค์มาจ่อที่กีตาร์หรือไม่ต้องไปซื้อ pick up มาต่อต่างหาก แต่ Semi Acoustic กีตาร์จะมีลำตัวโปร่ง และแบนราบ แต่จะมี pick up ติดอยู่บนลำตัว และมักจะมีช่องเสียงเป็นรูปตัว f เช่นเดียวกับแบบ arch top ซึ่งทำให้กีตาร์ประเภทนี้มีคุณสมบัติของกีตาร์โปร่งคือเล่นแบบไม่ต่อเครื่อง ขยายก็ได้หรือจะต่อเครื่องขยายก็สามารถเล่นได้เช่นเดียวกับกีตาร์ไฟฟ้า ส่วนใหญ่กีตาร์ประเภทนี้มักจะพบว่าใช้ในดนตรีบลูส์ หรือดนตรีแจ๊สเป็นส่วนมาก



 
4.Solid Body Electric กีตาร์ ซึ่ง ก็คือกีตาร์ไฟฟ้าที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักกันดีอยู่แล้วซึ่งมีอยู่มากมายหลายแบบแต่ลักษณะเด่นก็คือลำตัวจะเป็น แบบตัน และประกอบด้วย pick up ซึ่งเป็นหัวใจของกีตาร์ไฟฟ้าอีก 2 หรือ 3 ชุด ไว้บนลำตัวกีตาร์สำหรับแปลงสัณญาณเสียงเป็นกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังเครื่องขยาย อีกที กีตาร์ประเภทนี้ต้องมีเครื่องขยาย มิฉะนั้นเวลาเล่นต้องเอาหูไปแนบใกล้ ๆ ตัวกีตาร์ถึงจะได้ยินเสียง แต่ข้อดีก็คือเราสามารถที่จะปรับแต่งเสียงของมันได้อย่างอิสระด้วยการ control ปุ่ม volume หรือ tone และยังใช้ร่วมกับ effect ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตมามากมายหลายแบบเหลือเกิน เช่น distortion ,overdrive, flanger เป็นต้น ทำให้สามารถปรับแต่งสำเนียงกีตาร์ตามที่เราต้องการได้  นอกจากนี้ pick up ที่ใช้ยังมีทั้งแบบ single coil และแบบ double coil (humbacking) ซึ่งต่างลักษณะของการพันขดลวดรอบแกนแม่เหล็กและทำให้เสียงที่ได้ออกมานั้น ต่างกันอีกด้วย การติดตั้ง pick up ไว้ในตำแหน่งที่ต่างกันก็จะให้เสียงที่ต่างกันด้วยเช่นกัน เช่น การติด pick up ติดกับปลายสุดของฟิงเกอร์บอร์ดจะให้เสียงที่ทุ้ม หรือ pick up ที่ติดกับสะพานสาย (bridge) จะให้เสียงที่แหลมกว่าใช้ในการ solo เป็นต้น และอุปกรณ์พิเศษอีกอย่างที่สามารถทำให้เสียงกีตาร์แปลกออกไปก็คือคันโยก (tremolo bar) ได้แก่ชุดก้านยาว ๆ ที่ติดอยู่กับสะพานสายนั่นเองใช้กดขึ้นลงเพื่อเปลี่ยนความตึงของสายกีตาร์ทำ ให้ระดับเสียงที่ออกมานั้นแตกต่างไปจากปกติ สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากในวงการดนตรี pop rock เพราะมีเสียงหนักแน่นเล่นได้ทั้งแบบ rhythm หรือการ solo (หรือเล่น lead กีตาร์) โชว์สำเนียงของกีตาร์และสไตล์ของแต่ละคนซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นมาก














5. Resonator กีตาร หรือ Resophonic กีตาร์ เป็นกีตาร์อีกประเภทที่เราไม่ค่อยเห็นบ่อยนัก บางทีก็เรียกว่า dobro มีลักษณะเด่นคืออาศัย resonatorซึ่งจะทำให้เกิดเสียง resonance หรือขยายเสียงให้ดังโดยทำให้เกิด resonance มีทั้งแบบ tri-plate resonator คือมีเจ้า resonator 3 แผ่น และแบบ single-resonator คือมี resonator แผ่นเดียวนั่นเอง โครงสร้างโดยส่วนใหญ่จะทำด้วยโลหะ สำหรับกีตาร์ประเภทนี้มักจะเล่นกับเพลงบลูส์ที่ใช้สไลด์เช่นพวกเดลต้าบลูส์ หรือประเภทบลูกลาส ( bluegrass ) โดยใช้ไสลด์กีตาร์ หรือเล่นกับเพลงแบบฮาวาย




6. กีตาร์ steel หรือ pedal steel guitar หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับเจ้ากีตาร์แบบนี้เท่าไรนัก ส่วนใหญ่กีตาร์แบบนี้จะเล่นในเพลงประเภทเพลง country และแบบ ฮาวาย เป็นส่วนมากเวลาเล่นจะเล่นด้วยสไลด์ นอก จากกีตาร์ประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมาด้านบนแล้ว ยังมีกีตาร์แบบพิเศษอื่น ๆ ซึ่งอาจจะทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์เฉพาะประเภท หรือเล่นเป็นพิเศษกับเพลงนี้โดยเฉพาะ เราจะไม่ค่อยเห็นมากนักเช่นกีตาร์ที่มีจำนวนสายแปลก ๆ มีรูปร่างแปลก ๆ เช่นกีตาร์ 7 สาย กีตาร์ Harmony Sovereigh แบบ 9 สาย กีตาร์ที่ใช้สายของกีตาร์เบสประกอบด้วย กีตาร์ 2 คอ กีตาร์ 2 คอรูปตัว V หรือ 4 คอ รูปตัว X เป็นต้น